ประเภทของไวรัสและโปรมแกรมมุ่งร้าย(Malware)ต่างๆ
ปัจจุบันมีไวรัสรวมทั้งโปรแกรมมุ่งร้ายอื่นๆ นับหมื่นชนิดและถูกสร้างขึ้นใหม่ทุกวันแต่มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ยังแพร่กระจายอยู่ ซึ่งแบ่งตามลักษณะการทำงานได้หลายอย่าง เช่น
*-*ไวรัส*-*
ไวรัสที่ติดบู๊ตเชกเตอร์:ฝังอยู่ที่บริเวณบู๊ตเชกเตอร์ของแผ่นดิสก์ เช่น MBR (Master Boot Record) ของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นส่วนแรกที่ระบบจะเรียกขึ้นมาทำงานทุกครั้งที่บู๊ตเครื่อง
ไวรัสที่ติดไฟล์โปรแกรม:ไวรัสประเภทนี้จะฝั่งตัวไว้กับโปรแกรมและจะทำงานเมื่อโปรแกรมนั้นถูกเรียกทำงาน แต่เมื่อปิดโปรแกรม ไวรัสจะยังคงทำงานอยู่ในเครื่อง และรอว่ามีโปรแกรมอื่นใดบ้างที่ถูกเรียกทำงาน ก็จะฝังตัวเข้าไปใน โปรแกรมใหม่นั้นเลย ซึ่งจะติดเฉพาะไฟล์โปรแกรมที่ลงท้ายด้วย.comหรือ.exeเท่านั้น
มาโครไวรัส(marcro Virus):ฝังตัวไฟล์เอกสาร เช่น Word,Excelในรูปมาโคร(macro)หรือโปรแกรมสำหรับทำงานอัตโนมัติภายในแอพพลิเคชั่นนั้นๆโดยจะทำงานเมื่อเปิดเอกสาร
ไวรัสที่มากับE-mail:จะทำงานเมื่อผู้รับเปิดอ่านอีเมล์หรือเปิดไฟล์เอกสารที่แนบมา
Trojan Horse
ทำตัวเหมือนโปรแกรมที่มีประโยชน์ หลอกให้ผู้ใช้สั่ง Run แต่แอบทำอย่างอื่น เช่น ขโมยข้อมูลลบไฟล์ เปิดช่องให้ผู้อื่นแอบเข้าควบคุมเครื่องฯลฯ
Worm(เวิร์ม)
หรือ “หนอนอินเทอร์เน็ต” แตกต่างจากไวรัสคือสามารถแทรกซึมไปยังเครื่องต่างๆที่ต่ออินเทอร์เน็ตได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องฝังตัวเองไว้กับโปนแกรมหรือไฟล์ใดๆ
Malwareอื่นๆ
Malwarec หมายถึง โปรแกรมประเภทที่มุ่งร้ายต่างๆรวมถึงไวรัส หนอนอินเทอร์เน็ต และโทรจันที่กล่าวแล้ว และอื่นๆ เช่น
Dialer จะแอบสั่งโมเด็มของคุณให้ตัดสายจาก ISP แล้วหมุนโทรศัพท์ไปยังหมายเลขของผู้ให้บริการในต่างประเทศแทนโดยที่คุณไม่รู้ตัว ทำให้ต้องเสียเงินค่าโทรศัพท์ทางไกลไปต่างประเทศซึ่งแพงมาก
Exploit เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาให้สามารถเจาะระบบโดยอาศัยช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการหรืแอพพลิเคชั่นที่ทำงานอยู่บนระบบ เพื่อให้ไวรัสหรือผู้บุกรุกสมารถครอบครอง ควบคุม หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งบนระบบได้
Hoaxต่างกับตัวอื่นๆตรงที่ไม่ใช่ของจริงที่เป็นอันตราย แต่เป็นเรื่องหลอกลวงที่มักอยู่ในรูปส่งข้อความต่อๆกันไป(plain text)ก็ติดไวรัสได้ทำให้คนอื่นตื่นตระหนก เป็นต้น
Spyware/Adware
เป็นโปรแกรมอีกประเภทที่แอบแฝงตัวอยู่ในเครื่อง แล้วแอบทำสิ่งต่างๆ โดยผู้ใช้ไม่รู้ตัว ซึ่งอาจสร้างความรำคาญหรือความเสียหายต่อผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ เช่นขโมยข้อมูลสำคัญในเครื่อง เช่นรหัสผ่าน หมายเลขบัตรเครดิต ฯลฯ หรือบ่งตัวก็อาจไม่ยุ่งเกี่ยวกับข้อมูลในเครื่อง แต่ก็สามารถก่อกวนให้เกิดความรำคาญในขณะใช้งาน เช่น แสดงโฆษณาสินค้า เชิญชวนให้เล่นการพนัน หรือโชว์ภาพอนาจาร ตลอดจนเปิดเวบไม่พึงประสงฆ์ต่างๆขึ้นมาเองโดยผู้ใช้ไม่ได้สั่ง หรือที่ร้ายกว่านั้นอาจมีผลข้างเคียงกับการทำงานของโปรแกรมอื่นๆได้อย่างคาดไม่ถึง ทำให้โปรแกรมที่เคยใช้ปกติกลับรวน เช่นคีย์ภาษาไทยในช่องรับข้อมูลของแบบฟอร์มบนเว็บไม่ได้ เป็นต้นนับเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ
Spam mail (junk mail)
ภัยอีกกย่างที่มีผลกระทบไม่น้อยคือ การส่งอีเมล์ไปบังผู้รับที่ไม่ต้องการอ่านหรือไม่ได้ร้องขอ(unsolicited e-mail)โดยส่งเป็นจำนวนมากๆ เช่นนับแสนหรือล้านฉบับโดยมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลายตั้งแต่โฆษณาสินค้า การล่อลวง การโจมตีระบบให้ทำงานไม่ได้ฯลฯ อีเมล์ประเภทนี้จะรบกวนกานใช้งานปกติของอินเทอร์เน็ต เช่นเพิ่มปริมาณข้อมูลที่ไร้ประโยชน์ในสายสื่อสาร กินเนื้อที่ในเมล์
บ็อกซ์ของผู้รับ ทำให้เสียเวลาสแกนด้วยโปรแกรม หรือเสียเวลาของผู้ใช้ที่ต้องคอยคัดแยกและลบทิ้งด้วยตนเองโปรแกรมรับส่งเมล์อันใหม่ๆโดยทั่วไปแล้วจะคัดเมล์ขยะได้บางส่วน แต่ก็ไม่หมด100%และไม่แน่ว่าคัดเอาเมล์ที่ต้องการไปด้วยหรือเปล่า เราจึงควรตรวจเช็คอีกทีเสมอ
แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA
วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น